ข้อมูลทั่วไป
รพ.สต.บางหลวง อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม ปี 2565
ตำบลบางหลวง เป็นตำบลที่มีขนาดใหญ่ มีจำนวน 21 หมู่บ้าน
แบ่งเขตการปกครองเป็น 2 เขต ได้แก่ เขตเทศบาลตำบล จำนวน 4 หมู่บ้าน หรือ 5 ชุมชน ได้แก่ หมู่ที่ 1
- 3 และ 6 หรือ ชุมชนที่ 1 - 5 และเขตองค์การบริหารส่วนตำบล
จำนวน 18 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ 4 – 21
โดยมีหมู่ที่ 6 ที่มีพื้นที่ร่วมกันทั้งสองเขตการปกครอง มีระยะห่างจากโรงพยาบาลบางเลน
ประมาณ 18 กิโลเมตร ระยะห่างจากตัวจังหวัด ประมาณ 50 กิโลเมตร
เส้นทางการจราจรมีความสะดวกสบาย โดยมีรถโดยสารประจำทางและรถตู้ปรับอากาศ
ตำบลบางหลวง
มีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จำนวน 2
แห่ง คือ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางหลวง
รับผิดชอบ 12 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ที่ 1 – 10,
20 และ 21
และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบางหวาย รับผิดชอบ 9 หมู่บ้าน
ได้แก่ หมู่ที่ 11 - 19
อาณาเขตติดต่อ
-
ทิศเหนือ ติดต่อกับ ตำบลบางตาเถร อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี
-
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ตำบลบัวปากท่า
อำเภอบางเลน จังหวัดสุพรรณบุรี
-
ทิศใต้ ติดต่อกับ ตำบลหินมูล
อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม
-
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ตำบลสระสี่มุม อำเภอกำแพงแสน
จังหวัดนครปฐม
วิสัยทัศน์(vision)
เป็นหน่วยงานชั้นนำระดับตำบล ในการพัฒนาระบบสุขภาพที่มีคุณภาพ โดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน นำไปสู่การมีสุขภาพดี
พันธกิจ(Mission)
- จัดบริการสุขภาพแบบองค์รวมให้มีคุณภาพและมาตรฐาน
- พัฒนาระบบและกลไกการบริหารจัดการด้านสุขภาพให้มีคุณภาพและบรรลุผลสัมฤทธิ์
ค่านิยม
บริการด้วยรอยยิ้ม อิ่มด้วยไมตรี สุขภาพดีชีวีสดใส
ข้อมูลประชากรจากdbpop
2563
ประชากรทั้งหมด จำนวน 4532 คน
เพศชาย จำนวน 2,249 คน
เพศหญิง จำนวน 2,283 คน
เด็ก
0-5 ปี จำนวน 239 คน
อายุ
15 ปีขึ้นไป จำนวน 3,349 คน
อายุ
35 ปีขึ้นไป จำนวน 2,534 คน
อายุ
60 ปีขึ้นไป จำนวน 828 คน
บริบทชุมชน
สภาพชุมชนมี 2 ลักษณะ ได้แก่ ชุมชมชนบทกึ่งเมือง
ส่วนใหญ่เป็นคนไทยเชื้อสายจีน อาศัยในเขตเทศบาล ลักษณะบ้านเป็นห้องแถว 2 ชั้น ติดต่อกันไม่มีบริเวณรอบบ้าน มีอาชีพค้าขาย โดยเฉพาะอาหารซึ่งมีหลากหลายประเภท
มีสาธารณูปโภคครบครัน การเดินทางสะดวกสบาย มีความเป็นอยู่ที่ดี
ประชาชนมีพฤติกรรมการบริโภคอาหาร มัน เค็ม เป็นส่วนใหญ่และไม่ค่อยออกกำลังกาย ซึ่งทางเทศบาลตำบลได้สนับสนุนพื้นที่และเครื่องออกกำลังกาย
แต่ประชาชนไม่ให้ความสำคัญในการออกกำลังกายหรือการเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆที่จัดขึ้น
และชุมชนอีกลักษณะ คือ ชุมชนชนบท มีเชื้อสายไทยทรงดำ 2 หมู่บ้านอาศัยในเขต
อบต. ลักษณะการปลูกอาศัยของบ้าน บางพื้นที่ปลูกชิดติดกัน
บางพื้นที่ปลูกห่างกันเนื่องจากใช้พื้นที่ในการประกอบอาชีพเกษตรกรรม ได้แก่ ทำนา
ปลูกผัก เลี้ยงกุ้ง เลี้ยงปลา เป็นต้น
มีประชาชนบางส่วนประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป
ประชาชนจึงมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่เน้นความสะดวกสบาย รวดเร็ว
และรับประทานอาหารไม่ตรงเป็นเวลา เนื่องจากคำนึงถึงการประกอบอาชีพเป็นหลัก
และมักคิดว่าการทำงานที่ใช้แรงงานคือการออกกำลังกาย
ด้วยเหตุผลข้างต้นนี้จึงทำให้ประชาชนในพื้นที่เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังที่มีสาเหตุเกี่ยวกับพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสม ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ
และไขมันในเลือดสูง เป็นต้น จากข้อมูลการคัดกรองสุขภาพปี 2564 พบว่าประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไปมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคอ้วน
ร้อยละ 12.23โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ร้อยละ 3.90 และโรค อัมพฤกษ์อัมพาตร้อยละ 14.20 จะเห็นได้ว่าประชาชนเสี่ยงต่อการเกิดโรคอัมพฤกษ์อัมพาตมากที่สุด
ซึ่งความเสี่ยงต่อการเกิดโรคอัมพฤกษ์อัมพาตเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคเรื้อรังอื่นๆตามมา
ข้อมูลสถานะสุขภาพและการเจ็บป่วย
- จำนวนและอัตราป่วยปี พ.ศ. 2562-2564
ลำดับ
|
ชื่อโรค
|
ปี 2562
|
ปี 2563
|
ปี 2564
|
|||
จำนวน
|
อัตรา
|
จำนวน
|
อัตรา
|
จำนวน
|
อัตรา
|
||
1
|
โรคระบบทางเดินหายใจ
|
1033
|
20.68
|
844
|
12.49
|
580
|
9.34
|
2
|
โรคระบบกล้ามเนื้อ
|
415
|
8.30
|
383
|
5.67
| 388 | 6.25 |
3
|
โรคระบบไหลเวียนโลหิต
| 346 |
6.92
|
1,455
|
21.54
| 1,651 | 26.60 |
4
|
โรคผิวหนัง
|
210
|
4.20
|
219
|
3.24
|
171
| 2.75 |
5
|
โรคระบบทางเดินอาหาร
|
197
|
3.94
|
1,432
|
21.20
| 1,001 |
16.12
|
อัตราการป่วยของประชากรปี 2562-2564 พบว่าประชากรส่วนใหญ่ป่วยด้วยโรคระบบไหลเวียนโลหิตมากที่สุด รองลงมาคือโรคระบบทางเดินอาหาร และโรคระบบทางเดินหายใจตามลำดับ
- จำนวนและอัตราป่วยด้วยโรคเรื้อรัง
ปี พ.ศ. 2562-2564
ลำดับ
|
ชื่อโรค
|
ปี 2562
|
ปี 2563
|
ปี 2564
|
|||
จำนวน
|
อัตรา
|
จำนวน
|
อัตรา
|
จำนวน
|
อัตรา
|
||
1
|
โรคความดันโลหิตสูง
|
204
|
4.08
|
286
|
59.33
|
297
|
59.87
|
2
|
โรคเบาหวาน
| 54 |
1.08
|
45
|
9.33
| 46 |
9.27
|
3
|
โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
|
108
|
2.16
|
151
|
31.32
|
153
| 30.84 |
จำนวนอัตราป่วยด้วยโรคเรื้อรัง
ปี 2562 - 2564 พบว่าประชากรส่วนใหญ่ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง รองลงมาคือ โรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน และโรคเบาหวานตามลำดับ และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
-จำนวนและอัตราป่วยด้วยโรคทางระบาดวิทยา
ปี พ.ศ. 2562-2564
ลำดับ
|
ชื่อโรค
|
ปี 2562
|
ปี 2563
|
ปี 2564
|
|||
จำนวน
|
อัตรา
|
จำนวน
|
อัตรา
|
จำนวน
|
อัตรา
|
||
1.
|
โรคอาหารเป็นพิษ
|
48
|
0.96
|
63
|
63
|
||
2
|
โรคมือเท้าปาก
|
0
|
0
|
0
|
0
|
0
|
0
|
3
|
โรคไข้เลือดออก
|
0
|
0
|
0
|
0
|
0
|
0
|
4
|
โรคสุกใส
|
4
|
0.08
|
0
|
0.08
|
1
|
|
5
|
โรคตาแดง
|
51
|
1.02
|
0
|
0
|
1
|
จำนวนและอัตราป่วยด้วยโรคทางระบาดวิทยา
ปี 2562 และ 2564 พบว่าประชาชนส่วนใหญ่ป่วยด้วยโรคอาหารเป็นพิษ และโรคตาแดงมากที่สุด รองลงมาคือ โรคมือเท้าปาก โรคไข้เลือดออกและโรคสุกใสตามลำดับ
ปี 2564 พบว่าประชาชนส่วนใหญ่ป่วยด้วยโรคอาหารเป็นพิษมากที่สุด รองลงมาคือโรคอาหารเป็นพิษ และโรคสุกใสตามลำดับ
ปี 2564 พบว่าประชาชนส่วนใหญ่ป่วยด้วยโรคอาหารเป็นพิษมากที่สุด รองลงมาคือโรคอาหารเป็นพิษ และโรคสุกใสตามลำดับ
ปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของพื้นที่
ลำดับ
|
ปัญหา
|
ขนาดของปัญหา
|
ความรุนแรง
|
ความยากง่าย
|
ความสนใจ
|
ผลบวก
|
ผลคูณ
|
ลำดับ
|
1
|
โรคเบาหวานความดันโลหิตสูง
|
3
|
4
|
3
|
4
|
14
|
144
|
2
|
2
|
ตั้งครรภ์อายุ <20 ปี
|
0
|
0
|
0
|
0
|
0
|
0
|
5
|
3
|
โรคอ้วน
|
4
|
4
|
4
|
3
|
15
|
192
|
1
|
4
|
โรคมะเร็งปากมดลูก
|
2
|
2
|
4
|
3
|
11
|
48
|
3
|
5
|
โรควัณโรค
|
1
|
1
|
2
|
2
|
7
|
8
|
5
|
ตารางสรุปประเด็นสำคัญจากการประเมินตนเอง
ประเด็นปัญหา/ความเสี่ยงที่สำคัญของพื้นที่
|
การแก้ไขปรับปรุง/ผลลัพธ์การดำเนินการของเครือข่ายบริการปฐมภูมิหรือหน่วยบริการปฐมภูมิ
|
โอกาสการพัฒนา/แผนการพัฒนา
|
1. ภาวะเสี่ยงโรคอ้วน
|
1. จัดทำโครงการคลินิกลดอ้วน ลดโรค
|
1. จัดตั้งเป็นคลินิกให้บริการในรพ.สต.
|
2. โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
|
2. จัดกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยง
|
2. ขยายกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้ครอบคลุมทุกชุมชน
|
3. สตรีให้ความสำคัญในการตรวจ
คัดกรองมะเร็งปากมดลูกน้อย
|
3. เพิ่มช่องทางและสื่อในการประชาสัมพันธ์ เช่น จดหมายติดตามรายบุคคล
โทรศัพท์ติดตามรายบุคคล เป็นต้น
|
3. จัดทำสมุดบันทึกติดตามการตรวจคัดกรองรายบุคคล
|
4. วัยรุ่นตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรต่อเนื่องทุกปี
|
4. จัดกิจกรรมให้ความรู้แก่เด็กนักเรียนกลุ่มเป้าหมาย
|
4. จัดตั้งคลินิกคู่คิดวัยใส
|
5. มีผู้ป่วยวัณโรคในพื้นที่เสี่ยงต่อการแพร่กระจายเชื้อ
|
5. คัดกรองกลุ่มเสี่ยงวัณโรค
|
5. จัดอบรม อสม.ในการคัดกรอง
กลุ่มเสี่ยงวัณโรคในพื้นที่
|
จากการทำประชาคมเรื่องปัญหาด้านสุขภาพทุกหมู่บ้าน ทำให้พบภาวะที่เป็นปัญหาสุขภาพของ ตำบลบางหลวง
ได้ดังนี้
อันดับ 1
มีผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงเพิ่มมากขึ้น
อันดับ 2
มีผู้ป่วยไข้เลือดออกเพิ่มมากขึ้น
อันดับ 3
ผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียงได้รับการดูแลไม่เหมาะสม
ดังนั้นรพ.สต.บางหลวง ได้ดำเนินการพัฒนาคุณภาพระบบสุขภาพอำเภอและบริการปฐมภูมิ (DHS-PCA) โดยเริ่มประชุม แต่งตั้งคณะกรรมการตั้งแต่ระดับอำเภอบางเลน จนมาถึงระดับตำบลบางหลวงโดยมี นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบางหลวง และนายกเทศบาลตำบลบางหลวงเป็นประธาน ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้นำชุมชนและผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางหลวงร่วมเป็นคณะทำงานระดับพื้นที่ ในระดับรพ.สต.ได้มีการแต่งตั้งผู้รับผิดชอบงานเฉพาะของตนเอง การดำเนินงานได้มีการจัดประชุมทุก 3 เดือนพร้อมนำปัญหาและข้อเสนอแนะร่วมปรึกษาแนะนำการแก้ไขปัญหา และมีการติดตามการดำเนินงานโดยบูรณาการ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ร่วมกับการประชุมประจำเดือนของอาสาสมัครสาธารณสุขทุกเดือน และมีการรายงานผลให้ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพทราบเป็นระยะ มีการสร้างแรงจูงใจ ขวัญกำลังใจในการทำงานเป็นระยะเพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมและสามัคคีกันในหน่วยงาน
จากการประชุมของคณะกรรมการได้พิจารณาแล้วว่าควรใช้งบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลบางหลวงเหมาะสมที่สุด ดังนั้นรพ.สต.บางหลวงจึงชี้แจงปัญหาและโครงการต่อคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลบางหลวงซึ่งมีนายกองค์การบริหารส่วนตำบลบางหลวง และนายกเทศบาลตำบลบางหลวงเป็นประธาน
และคณะกรรมการซึ่งได้รับการเห็นชอบและอนุมัติโครงการโดยประธานกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลบางหลวงให้ดำเนินกิจกรรมโครงการได้
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น